พฤศจิกายน 23, 2024

โปรเจกต์สุดพิเศษ HANGOVER “เชียงดาว Nature Reconnect “ย้ง ทรงยศ”กับ “อัด อวัช”พาดื่มด่ำท่องเที่ยวธรรมชาติเชิงอนุรักษ์

นาดาว บางกอก ร่วมกับ ภาคีเรารักดอยหลวงเชียงดาว และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เปิดโปเจกต์สุดพิเศษ HANGOVER “เชียงดาว Nature Reconnect โดยมี ต่อ-ธนภพขอนำทีม อัด-อวัชกันต์-ชุณหวัตร และ เบลล์-เขมิศรา ครั้งแรกในชีวิตกับการขึ้นดอยหลวงเชียงดาว จ.เชียงใหม่ เพื่อร่วมทริปศึกษาธรรมชาติ ที่ทำให้ทุกคนตื่นตาตื่นใจกับเส้นทางสุดทรหด การเดินเท้าเข้าป่า กับระยะทาง 8.5 กิโลเมตร ทั้งโหด ทั้งชัน ท่ามกลางไอหมอกอากาศที่หนาวเย็น และวิวที่สวยงามตระการตา

ย้ง-ทรงยศ สุขมากอนันต์ โปรดิวเซอร์รายการเล่าถึงโปรเจกต์นี้ให้ฟังว่า

“ จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้มาจากการที่ ภาคีเรารักดอยหลวงเชียงดาว เขาชวนต่อ-ธนภพ ไปเป็น Influencerในการทำให้คนรู้จักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ครับ แต่จริง ๆ ก็ไม่ได้อยากบอกว่ามันคือการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ก็เลยอยากมีคอนเซ็ปต์ในการพูดก็คือว่าเหมือนการกลับไปหาธรรมชาติ การกลับไปจุดเริ่มต้นของพวกเรา มันคือ Nature Reconnect จริง ๆ เราเกิดมาจากสิ่งนั้นแหละครับ คือสิ่งที่ภาคีเรารักดอยหลวงเชียงดาวเขาเป็นกลุ่มคนที่คอยดูแลแล้วก็ปกป้องแล้วก็ช่วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาววางกฎระเบียบกติกาในการเข้าไปท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ของเขตดอยหลวงเชียงดาว ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เนี่ยมันอาจจะบอกได้หลายวิธี สิ่งที่น่าสนใจคือเขาอยากให้เราช่วยนำเสนอในประเด็นที่ว่า ตอนที่เราเกิดมาเราก็เกิดมาจากธรรมชาติเนี่ยแหละ จริง ๆ การไปเที่ยวธรรมชาติ ก็คือการกลับไปหาธรรมชาติแบบกลับไปหาจุดเริ่มต้นของพวกเราแหละ ตอนเด็ก ๆ ก่อนที่เราจะมีของเล่นเป็นพลาสติกหรืออะไรก็ตาม เราก็เล่นดินเขี่ยดินเขี่ยทราย เราเดินเท้าเปล่า เล่นน้ำ เหยียบน้ำฝนมันคือก่อนที่เราจะมาใส่รองเท้า ก่อนที่เราจะมาเล่นของเล่น หรือมีชีวิตที่มันมี Gadget อะไรต่างๆNature Reconnect คือการพาเรากลับไปสู่ตัวตนของเราจริง ๆ พอฟังคอนเซ็ปต์ไอเดียของเขาแล้วน่าสนใจ มันเหมือนว่าเขาจะพาเรากลับไปในธรรมชาติแล้วลองเดินเท้าเปล่าดู พอเรากลับไปReconnect กับธรรมชาติ กับพื้นดินมันจริง ๆ แล้วเรารู้สึกอะไร จริง ๆ มันไม่ได้เป็นสิ่งที่แตกต่างเราแค่ไม่คุ้นเคยกับมัน แต่จุดเริ่มต้นเราเคยเป็นแบบนั้นมาก่อน การใช้วิธีการนี้ในการสื่อสารก็อาจจะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้นหรืออยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบไม่เอาเปรียบธรรมชาติ เราไปในพื้นที่ของคนอื่นแล้วเราไม่ใช่เจ้าของ เราควรเข้าไปแบบเคารพและให้เกียรติ ช่วยดูแล โปรเจกต์นี้มันก็คือ HangOver แบบเดิม ในเรื่องการดำเนินเรื่อง คือตามน้อง ๆ กลุ่มนี้ตามการเดินทางนั้นไปเรื่อย ๆ ออกจากกรุงเทพ ไปสนามบินไปยังพื้นที่ตรงหมู่บ้านตรงเชิงดอยเชียงดาว เราทำความเข้าใจพื้นที่เชิงดอยก่อนแล้วมันก็จะถึงวันที่เราเดินทางขึ้นดอยจนกระทั่งเราเดินทางลงกลับมา” 

มีอะไรที่มันต่างจาก HangOver ครั้งที่ผ่านๆมา  

“ถ้าเปรียบเทียบกับ HangOver ครั้งก่อน ๆ มันเป็นเรื่องว่าทุกครั้งที่เวลาเราทำ พวกผมก็จะแบบต้องได้ว่ะ ๆ เราต้องเอาสิ่งนั้นมาให้ได้ มันเหมือนเราทำรายการเราก็อยากได้สิ่งที่พอไปถึงที่นั่นแล้วได้สิ่งเราควรเห็น หรือควรเจอมาฝากคนดูคือวันขึ้นดอยฝนตกเมฆหมอกเต็มไปหมด ไม่เห็นวิวข้างทาง ส่วนตัวผมเองผมกลับรู้สึกว่าไม่ได้รู้สึกว่าต้องได้หรือเสียดาย หรือรู้สึกหงุดหงิดกับความที่เราโชคไม่ดีแบบนั้นเหมือนครั้งก่อน ๆ  แต่รู้สึกดี หรืออาจจะเป็นเพราะว่าวิธีการของทีมภาคีฯเขาพยายามทำให้เรา Connect กับ Nature ได้จริงๆ วันที่เราไปวันแรก เราไปถึงแล้วเราก็อยู่ด้านล่างก่อนนะครับ แล้วเขาก็พาเราเดินเอาเท้าสัมผัสดิน พาเรากลับไป Reconnect  กับธรรมชาติก่อนผมว่าอันนี้มันทำให้เราตัวเล็กลง ทำให้เรารู้สึกกับธรรมชาติง่ายขึ้น ไม่คาดหวังกับมันมากเกินไปสิ่งที่เราเจออยู่ตอนนี้มันคืออะไรเราก็สามารถAppreciate กับมันได้ในการที่มันเป็นแบบนี้ อย่างในอดีตพอเราคิดว่าขึ้นดอยเราก็อยากเห็นวิว เราก็อยากเห็นทะเลหมอก แต่พอวันนี้เราขึ้นไปปรากฏว่าฝนตกหมอกมันบังวิวทั้งหมด เราก็รู้สึกว่ามันก็มีความงามในแบบของมันนะ หมายถึงว่าป่าตอนฝนตก มันสวยในแบบของในอยู่นะ ทำให้เรามองเห็นความงามง่าย ๆ แค่เราเอาเท้าสัมผัสดินเราก็รู้สึกอะไรบางอย่าง   แค่ใบไม้ริมข้างทาง หรือแมลง หรือแม้กระทั่งดอกไม้  ธรรมดา แต่มันอาจจะเป็นดอกไม้เฉพาะถิ่นที่ มันมีความหมายยังไง ผมว่าสิ่งเหล่านี้มันมีความหมายหมดเลยครับ   แล้วมันก็มีจังหวะที่พอแดดมันเปิดฟ้ามันโล่งก็ได้เห็นยอดเขา คือรู้สึกว่าธรรมชาติไม่ว่าเราจะเจอมันในรูปแบบไหน จริง ๆ เราควบคุมมันไม่ได้สเน่ห์ของธรรมชาติก็คือเราควบคุมมันไม่ได้ นั้นมันเป็นโอกาสที่เราจะได้ Appreciate ความงามที่แตกต่างกันไป ในจังหวะนี้ที่เราเดินทางไปเราก็แค่ซาบซึ้งดื่มด่ำกับมันในแบบที่มันเป็นอยู่  เมื่อไหร่ผมยกกล้องขึ้นมาแล้วผมปรับเป็นโหมดMacro แล้วซูมถ่ายเห็ด แล้วมันก็จะมีตัวเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นเต็มไป  เมื่อไหร่ที่เรามอง มันก็เป็นแค่ป่า มันก็เป็นแค่ต้นไม้ มันก็เป็นแค่ดิน มันก็เป็นแค่ขอนไม้ แต่เมื่อเรามองลงไปที่ดีเทลก็จะเห็นว่าดอกไม้ดอกนั้นมันเป็นดอกไม้ แต่ถ้ามองลงไปดี ๆ เราก็รู้ว่าเราจะต้องซึมซับอะไรจากมันครับ เราในฐานะมนุษย์คนนึงกลับไปอยู่ในธรรมชาติ เช่นการขึ้นดอยหลวงเชียงดาวครั้งนี้เราไม่มีการขึ้นไปทำอาหารบนดอยทานกัน เราค้างคืน เราเตรียมอาหารขึ้นไปครับเป็นข้าวกล่อง ไม่ไปจุดไฟ ก่อฟืน มันคือการเข้าไปยังพื้นที่แบบที่เราเข้าไปกลมกลืนกับธรรมชาติที่สุด”​อวัช ผู้กำกับ และ1 ในทีมผู้ร่วมรายการ เผยความรู้สึกในการทำโปรเจกต์สุดพิเศษ HANGOVER “เชียงดาวNature Reconnect” ว่า

“2 ปีก่อน มันเกิดไฟป่ารุนแรงทำให้เขาต้องปิดเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนดอยหลวงเชียงดาวไป ปีนี้ธรรมชาติมันก็เริ่มสมบูรณ์มากขึ้นเขาก็สามารถเปิดกลับมาให้คนเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้อีกครั้ง   ภาคีฯเขาติดต่อทางนาดาวว่าอยากให้พี่ต่อมาเป็นคนเล่าเรื่อง และพอพี่ย้งทราบ ก็เลยเสนอภาคีฯ ว่าทางนาดาวอยากจะมาช่วยทำโปรดักชันให้  พี่ย้งเองก็ เฮ้ย ถ้ามันโปรเจกต์ธรรมชาติจริง ๆ เนี่ย เหมือนเราทำเป็นรายการท่องเที่ยวไหมเพื่อให้มันเข้าถึงคนเข้าใจมันได้มากกว่าการเป็นแค่หนังสั้นภาพสวย เป็นนักแสดงนาดาวนี่แหละครับ ที่มีความสนใจในการท่องเที่ยว ชื่นชอบธรรมชาติ เพื่อทำให้เกิดเคมีใหม่ แล้วก็ทำให้มันดูมีความเป็นกันเองแล้ว  มันก็เลยกลายเป็นว่าพอพี่ต่อเป็นโจทย์ตั้ง หลังจากนั้นก็คือพี่ย้งเสนอให้ผม เห็นว่าผมเคยทำHangover เหมือนชวนกลับมาทำ เหมือนให้รับผิดชอบในการกำกับไปด้วย  ก่อนที่จะเริ่มทำ เราก็จะต้องมีประชุมกับทางภาคีฯ นั่งคุยกับเขา ว่าเขาอยากให้เราเล่าอะไรบ้าง ก็มีพี่กันต์ที่ก็เคยทำHangOver  แล้วก็เป็นคนที่ค่อนข้างเป็นสีสัน มีความตลก มีสเน่ห์อะไรอย่างนี้ให้มาอยู่ด้วยกันรวมไปถึงเบลล์ก็เป็นหญิงสาวหนึ่งเดียวที่ช่วยมาเบสความเลี่ยนของชายหนุ่มทั้งสาม  ให้มันดูผ่อนคลายขึ้น ดูรีแลกซ์ ขึ้นครับ”

Hangover เชียงดาว นำเสนอและเล่าเรื่องอะไรบ้าง

หลัก ๆ แล้วเราอยากเล่าให้เห็นถึงความสำคัญของธรรมชาติที่เชียงดาวและให้คนมองเห็นความสำคัญของธรรมชาติจากเชียงดาวไปสู่ทุก ๆ ที่ เรารู้สึกว่าเราอยากทำวิดีโอที่ไม่ใช่แค่รายการท่องเที่ยวครับสำหรับ Hangover ทริปนี้เรามองว่ามันคือทริปของการศึกษาธรรมชาติและเราอยากส่งต่อเมสเสจว่าจริง ๆ แล้วเราอยากให้ทุกคนไปเที่ยวแบบ เราไปที่ของเขาเราก็ควรที่จะช่วยกันดูแล คือมันจะเน้นเรื่องของทำให้คนเห็นความสำคัญของธรรมชาติในแบบที่ไม่ได้ Force เขาเกินไป ทำให้เขาเห็นว่าจริง ๆ แล้วธรรมชาติมีความสำคัญยังไงบ้าง และเหตุผลอะไรที่เราควรที่จะต้องดูแลเขาประมาณนี้ครับ มีทั้งหมด 5 EP ครับ และแต่ละ EP แต่ละคลิปก็จะแบ่งเป็นตอน ๆ ตามโครง ตามระยะเวลา ด้วยอะครับ” ระยะเวลาในการขึ้นดอยใช้เวลาประมาณกี่ชั่วโมง อวัช“ช่วงที่เดินขึ้นดอยหลวงมันระยะทางขึ้นไป 8.5 กิโลเมตรครับ ระยะเวลาที่ใช้ก็ประมาณ 6-7 ชั่วโมงครับ จากนั้นก็เก็บข้าวเก็บของเตรียมเต็นท์แล้วก็ขึ้นไปบนดอยเพื่อขึ้นไปบนยอดเพื่อดูพระอาทิตย์ตก  เป็น 45 นาทีที่โหดมาก มันชันและเป็นหิน แค่เราเดินอยู่ในป่าสั้น ๆ 3 ชั่วโมงผมรู้สึกว่าเนื้อหามันเยอะไปหมดเลย อาจจะเป็นเพราะว่าเราโตขึ้นด้วย และเรามีมุมมองที่มันกว้างขึ้นกว่าการแค่คิดว่าความสวยงามมันจำกัดอยู่ในรูปแบบเดียว  การได้มาเจอกับพี่ ๆ เขาก็ทำให้เรามองเห็นความสวยงามของธรรมชาติในอีกมิตินึงด้วยเหมือนกันครับ เรารู้สึกว่าทุกคนที่ร่วมทริปมันเอ็นจอยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ณ ตรงหน้าผมว่ามันเลยแตกต่างจากครั้งก่อน ๆ ครับ แล้วก็สามารถ Appreciate จากความสวยงามที่มันไม่ได้เป็น Stereotype ที่เราเคยบอกว่าต้องเห็นพระอาทิตย์ตกเท่านั้นถึงจะเป็นความสวยงาม แต่จริง ๆ แล้วความสวยงามมันแทรกอยู่ระหว่างทางเต็มไปหมดครับ เราไม่เห็นพระอาทิตย์ตกไม่เป็นไรครับ เพราะว่ามันเหมือนระหว่างทางอย่างที่พี่ย้งพูดว่าข้างทางมันสวย มันเหมือนมันเติมไปเรื่อย ๆ มันแตกต่างจากการเดินป่า หรือเขาที่ผ่านๆ มาของบางที่ที่ระหว่างทางมันก็คือเดินไปเลยมันไม่ได้มีอะไรให้  Appreciate มาก ของที่นี่สวยตลอดทาง

การเดินทางครั้งนี้มันทำให้เราเรียนรู้อะไรบ้าง

ผมรู้สึกว่าเหมือนกับว่าเราได้กลับไปอยู่กับธรรมชาติจริง ๆ มันคือการที่เราได้อยู่กับตัวเองมากขึ้น ได้ทบทวนอะไรหลาย ๆ อย่างกับตัวเองแล้วมันก็ทำให้คิดปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เราเจอแล้วมันก็เป็นการเรียนรู้กับตัวเองในรูปแบบนึง ที่ทำให้เราสงบขึ้น และมันก็เป็นการเตือนว่าเดี๋ยวปัญหาในชีวิตเข้ามาแล้วเดี๋ยวมันก็จะผ่านไป แล้วเดี๋ยวมันก็จะเกิดขึ้นมาอีก ทำให้เราทบทวนกับวิธีการคิด วิธีการใช้ชีวิตของเรา รวมไปถึงการได้เรียนรู้ความสำคัญของธรรมชาติในแบบที่มันลึกขึ้นกว่าสิ่งที่เราเคยเข้าใจ มันก็กลายเป็นว่าพอเราจบทริปเรารู้สึกว่าเราเห็นค่าและอยากช่วยดูแลมันครับ”

อยากให้ฝากถึง HangOver ดอยหลวงเชียงดาวหน่อยมีความน่าสนใจ ความน่าติดตามยังไงบ้าง “สำหรับ HangOver ครั้งนี้นะครับสำหรับผมรู้สึกว่ามันแตกต่าง ทั้งในเรื่องของรูปแบบทริป มันเป็นในเชิงที่เราไปเที่ยวแบบดูแลรักษาธรรมชาติจริง ๆ เราได้ไปศึกษาธรรมชาติด้วยไม่ใช่แค่การไปท่องเที่ยวเฉยๆ ที่แรกก็กังวลเหมือนกันครับ เพราะว่ามันมีความเป็นนามธรรมค่อนข้างสูงในเรื่องของการอธิบายความรู้สึก  แต่ว่าพอมาทำจริง ๆ ภาพต่าง ๆ มันก็ส่งเสริมการเล่าเรื่องตรงนี้ให้มันทำให้สิ่งที่มันดูอาจจะนามธรรมมาก ๆ คนน่าจะพอเข้าใจได้ ถึงแม้เขาอาจจะไม่ได้เข้าใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ผมเชื่อว่าภาพแล้วก็สิ่งที่เราเล่ามันจะทำให้เขาอยากจะลองไปสัมผัสด้วยตัวเองครับ”

​ระยะทางที่ดูแสนไกล แต่ทำไมดูใกล้กับความสุข ร่วมหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ในธรรมชาติ กับ โปรเจกต์สุดพิเศษ HANGOVER “เชียงดาว Nature Reconnect” รถติดตามชมได้ทุกวันเสาร์ เวลา10.30 น. ที่ Youtube Nadao Bangkok  

You may have missed